Crafting Happiness – Carol, Mew & Ting

Carol Sinclair แครอล ซินแคลร์ – Scotland

Project or Organization/ ชื่อโครงการหรือองค์กรของท่าน
Carol Sinclair Ceramics

I am a maker and artist working in ceramics and experimenting with environmentally responsible materials. I use my work to draw attention to issues I feel strongly about and I create one-off pieces, collections and installations that explore the theme of memory, and it’s role in making the connections we have to one another and our environment. 

One of my most recent pieces is a mobile called Tipping Point, which is made from a range of repurposed materials and my own new clay & plastic hybrid biodegradable material. The work draws attention to the importance of balance for the health and wellbeing of our planet as well as ourselves and our communities.  

In earlier work I have used the purity, delicacy and fragility of porcelain to create sculptural pieces that express the experience of memory loss.  In cutting circular shapes out of the porcelain I create surfaces that have missing elements to emphasis the spaces between.  I very much enjoy working with carers to introduce them to making with clay as a way to process their experiences of caring for those living with dementia. 

ฉันเป็นผู้ผลิตและศิลปินที่ทำงานเกี่ยวกับเซรามิกส์และทดลองกับวัสดุที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ฉันใช้งานของฉันเพื่อดึงความสนใจไปยังประเด็นที่ฉันรู้สึกอย่างแรงกล้า และฉันสร้างผลงานแบบชิ้นเดียว เป็นคอลเลกชั่น รวมไปถึงการจัดวางที่พาไปสำรวจความทรงจำ ซึ่งมีบทบาทในการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และกับสิ่งแวดล้อมของเรา

งานชิ้นล่าสุดของฉันคือโมบายที่ชื่อ Tipping Point ซึ่งทำมาจากวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่หลายชนิด รวมทั้งดินและพลาสติกชนิดใหม่ของฉันเอง ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพแบบไฮบริด  จุดสนใจของงานนี้คือความสำคัญของความสมดุลต่อสุขภาวะและความอยู่ดีมีสุขของโลก รวมทั้งตัวเราและชุมชนของเรา

ในงานก่อนหน้านี้ ฉันได้ใช้ดินกระเบื้องเคลือบที่มีความบริสุทธิ์ ความละเอียดอ่อน และความเปราะบาง เพื่อสร้างชิ้นงานประติมากรรมที่แสดงประสบการณ์ของการสูญเสียความทรงจำ ในการผ่ากระเบื้องเคลือบทรงกลม ฉันสร้างพื้นผิวให้เห็นชิ้นส่วนที่ขาดหายไปเพื่อเน้นช่องว่าง  ฉันมีความสุขมากที่ได้ร่วมงานกับผู้ดูแลผู้ป่วย และแนะนำให้พวกเขาทำงานกับดินเหนียว เพื่อนำประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมาประยุกต์ใช้

Share with us your best “Happiness” experiences through craft or your experiences on the benefits of craft and making for health and wellbeing. /กรุณาเล่าประสบการณ์ที่ท่านมีความสุขที่สุดที่คุณมีกับงานคราฟท์ หรือแบ่งปันมุมมองจากประสบการณ์ที่คุณเห็น ว่างานคราฟท์มีส่วนในการสร้างสุขภาวะอย่างไร

One of my very best experiences is through the work I have done with my collaborator Nok to create this new Crafting Happiness Network. Over the last 6 months we have meet every Sunday morning, to talk and to exchange ideas together.  Early on we agreed to share Crafting Happiness moments from our week, and this process has made us both  become more aware and thankful for the daily making activities that add quality and joy to our lives.

And in bringing together craft makers, artists, academics and people working in their communities to improve the lives of others through craft has been very inspiring and life affirming.  In my professional life I have worked on a number of projects to introduce people to craft as a way to both process and escape from difficult situations, and this new network brings together individuals who may live in different parts of the world but who share the commitment to Crafting Happiness.  

ฉันเป็นผู้ผลิตและศิลปินที่ทำงานเกี่ยวกับเซรามิกส์และทดลองกับวัสดุที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ฉันใช้งานของฉันเพื่อดึงความสนใจไปยังประเด็นที่ฉันรู้สึกอย่างแรงกล้า และฉันสร้างผลงานแบบชิ้นเดียว เป็นคอลเลกชั่น รวมไปถึงการจัดวางที่พาไปสำรวจความทรงจำ ซึ่งมีบทบาทในการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และกับสิ่งแวดล้อมของเรา

งานชิ้นล่าสุดของฉันคือโมบายที่ชื่อ Tipping Point ซึ่งทำมาจากวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่หลายชนิด รวมทั้งดินและพลาสติกชนิดใหม่ของฉันเอง ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพแบบไฮบริด  จุดสนใจของงานนี้คือความสำคัญของความสมดุลต่อสุขภาวะและความอยู่ดีมีสุขของโลก รวมทั้งตัวเราและชุมชนของเรา

Mew Pornpimon Mingmitmee หมิว-พรพิมล มิ่งมิตรมี – Thailand

Project or Organization/ ชื่อโครงการหรือองค์กรของท่าน
Craft Colour

หมิว-พรพิมล มิ่งมิตรมี ผู้ศึกษาเรื่องสีธรรมชาติในท้องถิ่น เธอรู้จักวิธีการอนุรักษ์และซ่อมจิตรกรรมไทยจากอาจารย์ที่เชิญไปสอนช่างเขียนโบสถ์แบบโบราณ เก็บเกี่ยวความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์ จิตรกรรม และโบราณคดีเพื่องานอนุรักษ์ จากนักอนุรักษ์และพัฒนา มารวมกับภูมิปัญญาเรื่องการย้อมผ้า แล้วพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองส่าน อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ที่ทั้งอนุรักษ์วิถีชีวิตและพัฒนางานศิลปะท้องถิ่นอีสานไปพร้อมๆ กัน แถมได้รู้จักโทนสีอีสานที่น่ารักทั้งสีทั้งเสียง (Cr.The clound)

Mew Pornpimon Mingmitmee is an artist who learn about local natural color. She knew how to preserve and repair Thai painting from a teacher who invited to teach painting in ancient mural style. She gains knowledge of science, art and archeology for conservation work. She combined her knowledge with the local wisdom of dyeing then developed it for tourism of Ban Nong San Community, Phu Phan District, Sakon Nakhon Province. It could help both preserve the livelihood and develop local northeastern Thai art at the same time.

Share with us your best “Happiness” experiences through craft or your experiences on the benefits of craft and making for health and wellbeing. /กรุณาเล่าประสบการณ์ที่ท่านมีความสุขที่สุดที่คุณมีกับงานคราฟท์ หรือแบ่งปันมุมมองจากประสบการณ์ที่คุณเห็น ว่างานคราฟท์มีส่วนในการสร้างสุขภาวะอย่างไร

ความสุขของงาน craft คือการได้ลงมือทำและการ ได้ใช้ช่วงเวลานึงอยู่กับตัวเอง มีสติ การอยู่กับตัวเองเป็นการ healing จิตใจจากกระบวนการที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ 

The joy of crafting is being able to do it, spend some time with yourself with mindful. Being with yourself could heal the mind from the process that will lead to results.

Ting Chu – Thailand

Project or Organisation/ ชื่อโครงการหรือองค์กรของท่าน
Ting Chu Studio

เราเป็นนักวาดภาพประกอบและนักปั้นเซรามิค ที่สนใจทางด้านการทำงานภายในและจิตวิญญาณ เราเชื่อว่าศิลปะคือพื้นที่เปิดกว้างและไร้การแบ่งแยกตัดสินเพื่อให้ผู้คนได้เข้าถึงตัวเองและเห็นความเป็นได้อันไม่สิ้นสุดทั้งในตัวเขาและผู้อื่น 

ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมาเราได้นำการศึกษาจิตวิทยาของสาย Carl Gustav Jung ในการทำงานภายในกับตัวเองผ่านงานศิลปะที่เราทำอยู่ และต่อมาได้มารู้จักการปฏิบัติภาวนาสายวัชรยาน และยิ่งเห็นความสากลในเนื้อหาที่ทั้งศิลปะและการภาวนาสามารถมอบให้กับผู้คนได้ เราจึงเริ่มแบ่งปันประสบการณ์และกระบวนการเหล่านั้นเข้าไปในกิจกรรมศิลปะที่เราจัดในสตูดิโอของเรา ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ไร้การตัดสิน ไร้เป้าหมายใดๆ สำหรับคนที่จะมาเฝ้าสังเกตการณ์ตัวเองผ่านการปั้นดิน

เนื้อหาที่เราพยายามสื่อสารทั้งในเวิร์คชอปที่เราจัดและในงานศิลปะที่เราทำ ก็คือศิลปะคือพื้นที่ที่ควรเปิดกว้าง ปลอดภัย และไม่แบ่งแยก คล้ายๆกับเมื่อเราภาวนาและสร้างแก่นกลางของการเปิดรับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองระหว่างภาวนา เราอ่อนโยน ไม่ตัดสินและยอมรับ จนเราสามารถที่จะค่อยๆเรียนการปลดตัวเองจากความหมายตายตัวบางอย่างในตัวเรา และในสิ่งรอบตัวเรา

We are illustrators and ceramic makers who interested in how people inner’s work and their spirituality. We believe that art is an open and non-judgmental space for people to reach themselves and see the infinite possibilities in themselves and others.
Over the past decade, we introduced Carl Gustav Jung’s study of psychology to work within ourselves through the art. Later I learned the practice of the Vajrayana, and then I realized the more universality in the content that both art and meditation can share to people.

We began to organize and share those experiences and processes into the arts events at our studio. This will create a safe space without judgment, without any goals for those who come to observe themselves through clay molding.

We try to communicate that art is a space that should be open, safe, and inclusive. It’s like when we pray and create a core of being open to every situation that arises to us during prayer. We are gentle, non-judgmental and accepting until we are able to gradually learn to detach ourselves from certain stereotypes within ourselves and in our environment.

Share with us your best “Happiness” experiences through craft or your experiences on the benefits of craft and making for health and wellbeing. /กรุณาเล่าประสบการณ์ที่ท่านมีความสุขที่สุดที่คุณมีกับงานคราฟท์ หรือแบ่งปันมุมมองจากประสบการณ์ที่คุณเห็น ว่างานคราฟท์มีส่วนในการสร้างสุขภาวะอย่างไร

เรามีความสุขทุกครั้งที่คนมาร่วมเวิร์คชอปรู้สึกได้ผ่อนคลาย ได้ค้นพบศักยภาพที่เขาไม่รู้หรือไม่คิดว่าเขามี ได้ภูมิใจในผลงานปั้นของเขาอย่างที่มันเป็น ได้ค้นพบแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ได้รู้สึกไม่แปลกแยกหรือถูกตัดสิน ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นจากการที่เขาอนุญาตให้ตัวเองได้ลองทำงานกับดินก้อนหนึ่ง เขาไม่ได้ถูกบอกด้วยเหตุผลโดยใช้สมองเข้าใจ เขาเห็นและประสบมันเองผ่านร่างกายของเขา และนั่นก็มีพลังที่สุดสำหรับเรา

It’s our pleasure to see people relax when attending our workshop. They discovered potential that they might not know or didn’t realize they had it, and proud of their sculpture which made from inspiration for creativity without feel alienated or judged. This all happened because they allowed themselves to try working with a lump of clay. They weren’t told by reasoning with their brain. They saw and experienced it through their body and that’s the most powerful thing for us.