


Sumanatsya Voharn – Thailand
Project or Organisation/ ชื่อโครงการหรือองค์กรของท่าน
Rakker, Margin
Sumanatsya is strongly interested in local handicraft as well as the value of left over materials and scraps. She realises that design has great impact of both producing and consuming behaviour. While we are producing something, we might be destroying some other things without noticing. Sumanatsya constantly works with many local craftsmen around Chiang Mai during her Ph.D at Silpakorn University.
สุมนัสยาสนใจงานหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นอย่างมาก รวมทั้งคุณค่าของวัสดุเหลือใช้และเศษวัสดุเหลือใช้ เธอตระหนักดีว่าการออกแบบมีผลกระทบอย่างมากต่อพฤติกรรมการผลิตและการบริโภค ขณะที่เรากำลังผลิตบางอย่าง เราอาจกำลังทำลายสิ่งอื่นโดยไม่สังเกตเห็น สุมนัสยาทำงานอย่างต่อเนื่องกับช่างฝีมือท้องถิ่นมากมายทั่วเชียงใหม่ ขณะเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยศิลปากร
Please share with us your best “Happiness” experiences through craft or your experiences on the benefits of craft and making for health and wellbeing. /กรุณาเล่าประสบการณ์ที่ท่านมีความสุขที่สุดที่คุณมีกับงานคราฟท์ หรือแบ่งปันมุมมองจากประสบการณ์ที่คุณเห็น ว่างานคราฟท์มีส่วนในการสร้างสุขภาวะอย่างไร
Craft is the way to connect and understand of our self, others, nature of materials and time.
งานฝีมือช่วยให้เราเชื่อมต่อและเข้าใจตนเอง ผู้อื่น ธรรมชาติของวัสดุและเวลา



Sarawut Roopin – Thailand
Project or Organization/ ชื่อโครงการหรือองค์กรของท่าน
Thai Arts Department, Faculty of Fine Arts, Chiangmai University ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศิลปะวัฒนธรรมล้านนาคือชีวิตและจิตใจ ตลอดเวลาที่ผ่านมา สราวุธ รูปิน เรียนรู้และเข้าใจศิลปวัฒธรรมล้านนา ผ่านบทบาทสมาชิกในชุมชน ศิลปินนักดนตรี ตลอดจนทุกวันนี้ในฐานะอาจารย์นักวิจัย เชียวชาญพิเศษด้านศิลปะวัฒนธรรมล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านรูปแบบและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
ดร. สราวุธ รูปิน สอนอยู่ที่ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้ทำงานร่วมกับชุมชน องค์กรท้องถิ่น ในหลากหลายสาขา รวมถึงได้ทำงานกับทีมนักวิจัยจัดทำโครงการ One Craft One Gold ส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเครือข่ายงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์เชียงใหม่(Chiang Mai City of Crafts and Folk Art ) รวมถึงเป็น หัวหน้าโครงการ “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์มีชีวิตขุนยวมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” พร้อมด้วยทีมวิจัย เป็นโครงการที่สร้างกลไกความยั่งยืนในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมมายกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนในท้องถิ่นที่จะตอบโจทย์การพัฒนาด้วยการวิจัยและนวัตกรรม ในการหมุนเวียนนำผลิตภัณฑ์ในชุมชนมาช่วยเสริมและสร้างรายได้ให้กับประชาชน รวมถึงการที่ชุมชนมีสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีบนพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ผ่านการบูรณาการความร่วมมือกับท้องถิ่น
Please share with us your best “Happiness” experiences through craft or your experiences on the benefits of craft and making for health and wellbeing. /กรุณาเล่าประสบการณ์ที่ท่านมีความสุขที่สุดที่คุณมีกับงานคราฟท์ หรือแบ่งปันมุมมองจากประสบการณ์ที่คุณเห็น ว่างานคราฟท์มีส่วนในการสร้างสุขภาวะอย่างไร
งานหัตถกรรมเป็นงานที่สร้างสรรค์มาจากมือและใจ ผลงานที่ผลิตออกมานั้นจึงมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ มีสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นอัตลักษณ์ทางศิลปะและวัฒนธรรม บทบาทหน้าที่ของงานหัตถกรรมจึงเปรี่ยมด้วยวิถีชีวิต ความสุขจึงเกิดจากผลที่เราได้สร้างสรรค์ออกมา ทั้งการใช้งานหรือการเสพความงดงามและนามธรรมของงานหัตถกรรม



Carrie Fertig คาร์รี เฟอรทิก – Scotland
I am a socially engaged interdisciplinary artist working in performance, video, sound, installation, sculpture, and virtual reality, and a maker in flameworked glass. I make safe and compelling situations and environments in which viewers and participants can hold and examine that which is most close to their hearts. Much of my work is an exploration of difficult and uncomfortable aspects of our human experience: dying, forgiveness, and climate change. I’m interested in pushing societal norms around dying and the lack of conversation about the inevitable.
Much of my practice is collaborative and projects like the live performance Torcher Chamber Arkestra combine fire, music, sound, and electronics. Projects such as Forgiveness, are interactive and often collaborate with supported groups, in situations with imbedded duty of care.
Often using glass for its sonic, encapsulating, and transparent qualities, live performances may include the making or near or total destruction of objects. Using my body to act upon objects I have often made can emit sound transcendent or a deafening wake-up call.
I try to make work that is emotionally and spiritually useful. Feedback teaches me that these works can be beneficially life-changing for some and that the environment of an exhibition which contains captured and broadcast performances, can lead to social dialogue and exchange with profound positive effect on well being.
I have two long term projects; making compelling environments in which to die, and forgiveness which is a multi year project on the process of forgiving commissioned and supported by National Glass Centre, Sunderland, England. Forgiveness, which also toured Scotland changes with each new venue, adding stories of local people in supported groups who wish to participate in advance of the opening, but much of the work is interactive and can be added to throughout the run at each venue.
Going forward I am, together with a local healthy living network of which I am both client of and volunteer with, a two year project working with staff, volunteers, and clients, the clients being elderly, many of whom are socially isolated, some of whom are housebound. They will learn skills to heighten their awareness of and document their experience of well being in the natural world, through audio, video, writing, collage, and more. Some of those who are housebound will learn virtual reality skills to enable them to build their own natural world environments in which to experience and document well being. This will be manifested in an interactive map and in the second year a duplicate layer will be added, showing the direct threat climate change poses to that lived experience of well being in the specific places chosen by the participants.
ฉันเป็นศิลปินสหสาขาเพื่อสังคม ซึ่งทำงานด้านการแสดง วิดีโอ เสียง การจัดวาง ประติมากรรม และโลกเสมือนจริง ทั้งยังเป็นผู้ผลิตงานเป่าแก้ว ฉันสร้างสถานการณ์และบรรยากาศที่ปลอดภัยและเชื้อเชิญ ซึ่งผู้ชมและผู้เข้าร่วมสามารถโอบอุ้มและสำรวจสิ่งที่ใกล้หัวใจของพวกเขามากที่สุด งานส่วนใหญ่ของฉันเป็นการสำรวจประสบการณ์ของมนุษย์ที่ยากลำบากและอึดอัดใจ เช่น การตาย การให้อภัย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฉันสนใจที่จะผลักดันบรรทัดฐานทางสังคมเกี่ยวกับการตายและการสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
การทำงานของฉันส่วนใหญ่เป็นการทำงานร่วมกัน เช่น การแสดงสดของวง Torcher Chamber Arkestra ซึ่งมีเปลวไฟ ดนตรี เสียง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นองค์ประกอบในการแสดง ส่วนโครงการเกี่ยวกับการให้อภัยเป็นการสื่อสารสองทางและทำงานร่วมกับกลุ่มสนับสนุนและอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องการความระมัดระวัง
เรามักใช้แก้วเพื่อให้มีคุณภาพเสียงกังวานใส การแสดงสดอาจมีการสร้างวัตถุหรือทำลายให้สิ้นซากเลยก็มี บ่อยครั้งที่ใช้แก้วกับร่างกายแล้วสามารถเปล่งเสียงที่เหนือธรรมชาติหรือเสียงที่ปลุกให้ตื่นขึ้นได้ด้วย
ฉันพยายามทำงานที่มีประโยชน์ทั้งทางอารมณ์และทางจิตวิญญาณ คำติชมสอนฉันว่างานเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตใครหลายคนให้ดีขึ้น และการเก็บภาพนิทรรศการและการถ่ายทอดภาพการแสดง สามารถนำไปสู่การสนทนาแลกเปลี่ยนทางสังคม ซึ่งส่งผลดีต่อความอยู่ดีมีสุขอย่างล้ำลึก
ฉันมีโครงการระยะยาวสองโครงการ คือการสร้างบรรยากาศที่รู้สึกปลอดภัยกับการตายและการให้อภัย ซึ่งเป็นโครงการหลายปีเกี่ยวกับกระบวนการให้อภัยที่ได้รับมอบหมายและสนับสนุนโดย National Glass Centre เมืองซันเดอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ โครงการเกี่ยวกับการให้อภัยเปลี่ยนไปตามสถานแต่ละแห่งทั่วสกอตแลนด์ โดยเพิ่มเรื่องราวของคนในท้องถิ่นจากกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งต้องการเข้าร่วมก่อนการเปิดการเสวนา แต่งานส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารสองทางและสามารถเพิ่มได้ตลอดกระบวนการในแต่ละสถานที่
ในอนาคต ฉันจะร่วมงานกับเครือข่ายการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะในท้องถิ่น ซึ่งฉันเป็นทั้งลูกค้าและอาสาสมัครด้วย โครงการสองปีที่ทำงานร่วมกับพนักงาน อาสาสมัคร และลูกค้า ลูกค้าผู้สูงอายุหลายคนอยู่โดดเดี่ยวในสังคม บางคน ถูกกักบริเวณในบ้าน พวกเขาจะได้เรียนรู้ทักษะในการเพิ่มความตระหนักรู้และบันทึกประสบการณ์ความอยู่ดีมีสุขในโลกแห่งธรรมชาติผ่านเสียง วิดีโอ การเขียน ภาพตัดแปะ และอื่นๆ ผู้ที่ติดบ้านบางคนจะได้เรียนรู้ทักษะโลกเสมือน ซึ่งช่วยให้พวกเขาสร้างบรรยากาศธรรมชาติของตนเอง เพื่อสัมผัสประสบการณ์ความอยู่ดีมีสุขและบันทึกเก็บไว้ได้ สิ่งนี้จะปรากฏในแผนที่แบบสื่อสารสองทาง และในปีที่สองจะมีการแสดงภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีผลโดยตรงต่อประสบการณ์ความอยู่ดีมีสุขในสถานที่ของผู้เข้าร่วม
Please share with us your best “Happiness” experiences through craft or your experiences on the benefits of craft and making for health and wellbeing. /กรุณาเล่าประสบการณ์ที่ท่านมีความสุขที่สุดที่คุณมีกับงานคราฟท์ หรือแบ่งปันมุมมองจากประสบการณ์ที่คุณเห็น ว่างานคราฟท์มีส่วนในการสร้างสุขภาวะอย่างไร
When I was commissioned by National Glass Centre, the brief was to run a series of workshops on the theme of peace (to coincide with the national marking of WW1), and take any idea that came out of the workshops and make a solo show around that concept. In the first year we worked with three groups: asylum seekers, veterans, and the elderly with dementia and their carers. To introduce the project, all the groups met together and we had a brain storming session on what peace meant to each individual. One of the veterans said forgiveness and this really struck me as I place I had my own work to do. Over the many months of workshops, the more I got to know the participants, the more I realised that without forgiveness there is no peace. In the first year the participants made conceptual art, planned, cooked, and shared a meal, sang, and learned flameworking to make small sculptures, all on the theme of peace. All these activities focus so closely on one’s identity, who one is, and what one believes. Helping to enable and bring focus to this and providing a platform for participants to share their stories, and seeing how this can be life changing for some of them, are my best experiences of well being through craft. Some of this work done by participants is painful and not happy, but pain cannot be walked around and can only be gone through to achieve peace. I feel in this way my work crafts happiness, not always directly or immediately, but on a soul level for the long term. And obviously not for everybody, it’s difficult, can be painful, and many people just don’t want to go there. But the feedback I have received that it has changed lives, opened difficult but necessary conversations means I shall keep going.
เมื่อฉันได้รับมอบหมายจาก National Glass Center บทสรุปคือการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อสันติภาพ (เพื่อให้ตรงกับสัญญาประชาคมหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) และนำแนวคิดต่างๆ ออกมาแสดงเป็นผลงานเดี่ยว ในปีแรก เราทำงานร่วมกับสามกลุ่ม ได้แก่ ผู้ขอลี้ภัย ทหารผ่านศึก และผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมและผู้ดูแล เพื่อแนะนำโครงการนี้ ทุกกลุ่มได้พบกันและเรามีช่วงระดมสมองว่าสันติภาพมีความหมายต่อแต่ละคนอย่างไร ทหารผ่านศึกคนหนึ่งกล่าวถึงการให้อภัย และสิ่งนี้ทำให้ฉันประทับใจมากและตระหนักว่าฉันต้องทำอะไรสักอย่าง ตลอดหลายเดือนระหว่างประชุมเชิงปฏิบัติการ ยิ่งฉันได้รู้จักผู้เข้าร่วมมากเท่าไหร่ ฉันก็ยิ่งตระหนักว่าหากไม่มีการให้อภัย สันติภาพก็เกิดขึ้นไม่ได้ ในปีแรก ผู้เข้าร่วมได้สร้างสรรค์งานศิลปะถ่ายทอดแนวคิด วางแผน ทำอาหาร และแบ่งปันอาหาร ร้องเพลง และเรียนรู้การทำประติมากรรมชิ้นเล็กๆ ในหัวข้อสันติภาพ กิจกรรมทั้งหมดเหล่านี้ลงลึกไปยังอัตลักษณ์ของตนเอง เราคือใคร และอะไรที่เราเชื่อ ซึ่งเป็นการช่วยให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ และให้เวทีสำหรับผู้เข้าร่วมในการแบ่งปันเรื่องราวของพวกเขา และเห็นว่าสิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตได้อย่างไร นี่เป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดของฉันเกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขผ่านงานฝีมือ ชิ้นงานบางส่วนทำโดยผู้เข้าร่วมที่เจ็บปวดและไม่มีความสุข แต่เราอยู่กับความเจ็บปวดตลอดไปไม่ได้ เราจะผ่านมันไปได้ด้วยสันติสุขเท่านั้น ฉันรู้สึกว่างานของฉันไม่ได้สร้างความสุขโดยตรงหรือในทันที แต่สร้างความสุขระดับจิตวิญญาณในระยะยาว และแน่นอนว่าไม่ใช่สำหรับทุกคน มันยาก อาจเจ็บปวด และหลายคนไม่ต้องการ แต่ผลตอบรับที่ฉันได้ยืนยันว่ามันเปลี่ยนชีวิตได้ บทสนทนาที่เปิดใจนั้นยากแต่จำเป็น หมายความว่าฉันจะเดินหน้าต่อไป